Header Image
วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์จังหวัด
watermark

วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์จังหวัด

   วิสัยทัศน์
  วิสัยทัศน์จังหวัดปัตตานี : แหล่งผลิตผลการเกษตร และผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานความมั่นคงในการดำารงชีวิต การกำหนดจุดหมายปลายทาง (Ends) ในการพัฒนาจังหวัดปัตตานีแบบบูรณาการ ที่ให้ความสำาคัญกับการนำความ หลากหลายทางด้านวิถีชีวิต จารีตประเพณีศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ วิธีคิดและมุมมองต่างๆ ที่สามารถเชื่อมโยงหลากมิต ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานีให้เห็นเป็นภาพรวม (Holistic) ของ การพัฒนาที่มุ้งเน้นความสมดุลระหว่างความพอเพียงกับความสามารถในการพัฒนาให้ก้าวทันโลกยุคใหม่โดยวางสถานะ (Positioning)ของจังหวัดปัตตานีให้เป็นแหล่งผลิตผลการเกษตร และผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่มีคุณภาพบนพื้นฐานการดำรงชีวิตในสังคม อย่างมั่นคงของประชาชน แหล่งผลิตผลการเกษตรที่มีคุณภาพ หมายถึง การเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตร ที่มีความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานเกษตรดี ที่เหมาะสม กับการผลิต (GAP) และผลผลิตมีปริมาณและคุณภาพตามความต้องการของตลาดและสามารถเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม ฮาลาลอย่างเพียงพอ ได้แก่ ผลผลิตสัตว์น้ำ ข้าว ไม้ผลและพืชทางเลือกใหม่ๆ เป็นผลผลิตที่ได้รับการยอมรับ ความเชื่อมั่นจากผู้ บริโภค และผู้ใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง และเป็นผลผลิตที่เกิดจากการเกษตรเชิงสร้างสรรค์ แหล่งผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่มีคุณภาพ หมายถึง เมืองที่มีความมุ่งมั่นในการนำาปรัชญา วิถีปฏิบัติของศาสนาอิสลามในส่วนของฮาลาล มาใช้เป็นธงนำา (Flagship ) ในการพัฒนาที่ มุ่งไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ตั้งอยู่บนรากฐานของลักษณะภูมิสังคมแบบพหุวัตถุวัฒนธรรม อย่างยั่งยืน โดยการนำาหลักคิดในการผลิตและดำเนินวิสาหกิจที่สะอาดปราศจากสิ่งสกปรกปฏิกูลหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นที่รังเกียจโดย บัญญัติของศาสนาอิสลาม รวมทั้งของศาสนาอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน อาทิ อาหารเจของคนเชื้อสายจีนในปัตตานี มาเป็นกรอบ อ้างอิงในการพัฒนาที่ให้ความสำาคัญกับการผลิต เพื่อการบริโภคในชุมชนท้องถิ่นของตนอย่างพอเพียง และการผลิตเชิงพาณิชย์ที่ กำาหนดให้สินค้าและบริการของฮาลาลเป็นผลผลิตหลัก (Major Product ) ในการเจาะตลาดเก่าและสร้างตลาดใหม่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เฉพาะ (Niche Market) โดยมีเป้าหมายเป็นแหล่งผลิตภัณฑ์ฮาลาล ซึ่งผลิตภัณฑ์ฮาลาล ประกอบด้วย อาหารฮาลาล ผลิตภัณฑ์ ฮาลาล แฟชั่นมุสลิม เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับสตรี และบริการฮาลาล เพื่อไปสู่การเป็นแหล่งผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่มีคุณภาพและได้ มาตรฐานสากล เป็นผลิตภัณฑ์ตราสัญลักษณ์ของจังหวัดที่สร้างงาน สร้างรายได้แก่จังหวัด ความมั่นคงในการดำรงชีวิต หมายถึง ประชาชนในจังหวัดปัตตานีมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย สุขภาพดี มีการศึกษาสูง อาชีพมั่นคงและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำารงชีวิต รวมทั้งสภาพครอบครัวที่อบอุ่น และอยู่ในสังคมที่มีความสงบสุข มีความพร้อมด้านการบริการขั้นพื้นฐาน มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ มีความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน สามารถแสดงออกถึงวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของตนเองได้อย่างเสรี มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงสู่ประชา คมอาเซียนเป็นพื้นที่ที่ประชาชนในจังหวัดและประชาชนภายนอกสามารถท่องเที่ยวในจังหวัดได้อย่างปลอดภัย และวางใจ

 

   พันธกิจ
  1) ฐานเศรษฐกิจของจังหวัดมีการเติบโตอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ 
  2) พัฒนาและปรับปรุงเส้นทางให้สามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่และรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในด้านการขนส่งสินค้าและการขนส่งมวลชน
  3) ปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ แหล่งอาหาร น้ำของสัตว์ป่า และทรัพยยากรชายฝั่งทะเล โดยชุมชนมีส่วนร่วมตามแนวพระราชดำริ
  4) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่สามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการสังคมรวมทั้งความรู้ความเข้าใจสิทธิตามกฏหมาย มีความปลอดภัย คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  5) แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคของประชาชนครอบคลุมและพอเพียง

 

   ประเด็นยุทธศาสตร์
  ประเด็นการพัฒนาที่ 1 : ส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวในอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัด : 1. รายได้จากการส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 5 2. รายได้จากการส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวในอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 16 เป้าประสงค์ : การลงทุนในอุตสาหกรรมสะอาดในจังหวัดเพิ่มขึ้น กลยุทธ์ : มีจำนวน 4 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านเศรษฐกิจสู่ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 2) พัฒนายกระดับศักยภาพด้านการท่องเที่ยวแบบทางเลือกสอดคล้องกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ 3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่เอื้อต่อการลงทุนภาคอุตสาหกรรม การค้าและบริการ 4) พัฒนาสภาพแวดล้อมสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่ 
  ประเด็นการพัฒนาที่ 2 ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของกระบวนการผลิตสินค้าและบริการสู่มาตรฐานสากล ตัวชี้วัด : 1. สินค้าและบริการที่ได้รับรองมาตรฐานสินค้าสากลเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 85 2. จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นที่ได้รับมาตรฐานชุมชน 40 ผลิตภัณฑ์ เป้าประสงค์ : ต่างประเทศให้ความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการของจังหวัด กลยุทธ์ : มีจำนวน 4 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) เพิ่มประสิทธิภาพผลิตผลเกษตรปลอดภัยอาหารปลอดภัย และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีมาตรฐาน 2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ 3) ส่งเสริมการพัฒนายกระดับฝีมือแรงงานสอดคล้องกับภาคการผลิตสาขาเป้าหมาย เฉพาะ 4) ส่งเสริมการขยายช่องทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการที่ทันสมัย
  ประเด็นการพัฒนาที่ 3 เสริมสร้างความมั่นคงและสังคมคุณภาพตามวิถีภูมิปัญญาไทย ตัวชี้วัด : 1. คดีอาชญากรรมและคดียาเสพติด ลดลงคิดเป็นร้อยละ 25 2. จำนวนอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสำคัญ ลดลงคิดเป็นร้อยละ 35 3. ครอบครัวอบอุ่นตามเกณฑ์ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำหนด เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 85 4. หมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์การจัดระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง คิดเป็นร้อยละ 90 เป้าประสงค์ : ประชาชนอยู่ในสังคมปลอดภัยมีคุณภาพชีวิตและมีความสุข กลยุทธ์ : มีจำนวน 3 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) เสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2) ส่งเสริมสังคมแห่งคุณภาพสอดคล้องตามวิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และดำรงชีวิตแบบพอเพียง
  ประเด็นการพัฒนาที่ 4 เสริมสร้างระบบบริการสาธารณะที่มีคุณภาพมาตรฐาน ตัวชี้วัด : 1. ประชากรที่เข้าถึงบริการด้านสวัสดิการสังคม คิดเป็นร้อยละ 95 2. จำนวนข้อร้องเรียนในการให้บริการที่ลดลง คิดเป็นร้อยละ 90 เป้าประสงค์ : ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณะได้อย่างทั่วถึง กลยุทธ์ : มีจำนวน 3 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) ส่งเสริมการบริการสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า 2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะตามหลักธรรมาภิบาล 3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมโยงการบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 22,593